ภาวะที่เครื่องบินตก “หลุมอากาศ” โดยมากเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง, เกิดจากการบินเหนือพื้นที่บางแห่ง หรืออาจเกิดจากการที่เครื่องบินบินใกล้กับเครื่องบินลำอื่นมากเกินไป
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการคาดการณ์สภาพอากาศ และวางแผนการบินล่วงหน้ามาแล้ว แต่บางครั้งก็อาจจะเกิดหลุมอากาศแบบกะทันหัน ที่ไม่มีสัญญาณ คือท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใสดี แต่กลับมีหลุมอากาศที่คาดการณ์ไม่ได้ (Clear-air turbulence) หลุมอากาศลักษณะนี้นักบินไม่ทันตั้งตัวได้ ส่งผลกระทบต่อเครื่องบินโดยไม่คาดคิด
คำถามสำคัญที่หลายคนอยากทราบคือ เส้นทางการบินใดบ้าง ที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงเจอหลุมอากาศ
คนที่จะตอบคำถามนี้ได้คือ “Turbli” (https://turbli.com) เว็บไซต์พยากรณ์การเกิดหลุมอากาศที่สร้างฐานข้อมูลจากข้อมูลพยากรณ์หลุมอากาศขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) และข้อมูลพยากรณ์เมฆพายุฝนฟ้าคะนองของกรมอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักร (UK Met Office)
Turbli วิเคราะห์เส้นทางการบินทั้งหมด 150,000 เส้นทาง เฉพาะเส้นทางการบินที่ดำเนินการอยู่ ณ เดือน ธ.ค. 2023 เท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับ
“การวัดความรุนแรงของหลุมอากาศ ณ จุดที่กำหนด” ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ
ระดับเบา (0-20)
ปานกลาง (20-40)
รุนแรง (40-80)
รุนแรงมาก (80-100)
ที่น่าสนใจคือ จาก 10 อันดับแรก มีถึง 6 เส้นทางที่เกิดขึ้นในเอเชีย หรือถ้าเฉพาะเจาะจง คือเป็นเส้นทางภายในประเทศญี่ปุ่นและจีน ขณะที่เส้นทางยุโรป 2 เส้นทางก็มีจุดสำคัญที่เมืองมิลานของอิตาลี
อิกนาชิโอ กัลเลโก มาร์กอส ผู้ก่อตั้ง Turbli อธิบายว่า มิลานมีหลุมอากาศมากเนื่องจากเส้นทางบินมักผ่านเหนือเทือกเขาแอนดีสหรือเทือกเขาแอลป์ ส่วนเส้นทางในญี่ปุ่นและจีนมีความผันผวนเนื่องจากมีกระแสเจ็ตสตรีมสูง (ลมแรงที่พัดมาจากตะวันตกไปตะวันออก)
ดังนั้น ผู้โดยสารจะต้องมีสติและฟังคำแนะนำของพนักงานต้อนรับอย่างเคร่งครัด หมั่นสังเกตุสัญญาณเข็มขัดนิรภัย หากมีสัญญาณให้รัดเข็มขัด ควรรัดเข็มขัดนิรภัยให้กระชับ ตลอดการเดินทางอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เรารับมือกับการเผชิญความรุนแรงของการตกหลุมอากาศในทุกระดับ การปลดล๊อคเข็มขัดต้องรอสัญญาณเมื่อปลอดภัย และปลดล๊อคเมื่อยามจำเป็นเท่านั้น ซึ่งโดยปกติทุกสายการบินจะแนะนำให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาเมื่ออยู่บนเก้าอี้ที่นั่งตลอดการเดินทาง เพื่อป้องกันอันตรายจากเหตุที่ไม่คาดคิด
Comments